ปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ชี้วัดและจุลินทรีย์ก่อโรค | การตรวจวิเคราะห์ Staphylococcus aureus
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
ปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ENH62221สุขาภิบาลและความปลอดภัยอาหาร หลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์
Credit
Director and Screenwriter: Nopadol.pr., Arif Ch.
Camera Operator: Arif Ch., Wichchu K.
Demonstrator: Nopadol.pr.
Editor: Arif Ch.
ครีมต้านเชื้อแบคทีเรียสูตรพืช
หยุดอาการคันอย่างรวดเร็ว ยับยั้งแบคทีเรียอย่างล้ำลึก
ชัวร์ก่อนแชร์ : ภาพแบคทีเรียในหน้ากากอนามัยที่ใส่ไป 20 นาที จริงหรือ ?
บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ ภาพจานเพาะเชื้อ บอกว่าเป็นแบคทีเรีย ที่นำมาจากการใช้สำลีป้ายในหน้ากากอนามัยที่คนสวมใส่เป็นเวลา 20 นาที เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
🎯 ตรวจสอบกับ อ.พญ.ดร.กรวลี มีศิลปวิกกัย
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น
📌 สรุป : ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เพราะอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้
Q : ที่เขาแชร์กันว่า ภาพนี้เป็นแบคทีเรียที่พบในหน้ากากอนามัยนี่จริงไหม ?
A : ถามว่ามันจริงไหม
ก็เนื่องจากเราไม่รู้ขั้นตอนเขาว่าจริง ๆ แล้ว
ขั้นตอนในการเพาะเชื้อของเขาเป็นยังไงบ้าง
เนื่องจากว่าขั้นตอนในการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ
ต้องทำด้วยวิธีเทคนิคปราศจากเชื้อ
ถ้าเกิดว่าไม้พันสำลีที่เขาไปสวอปไม่สะอาดตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
หรือว่าเขาใช้การบ่มเชื้อที่นานเกินกว่าปกติ
ก็มีโอกาสที่เชื้อมันจะเจริญบนเพลท
บนอาหารเลี้ยงเชื้อมากเกินกว่าปกติ
ซึ่งก็จะเป็นเชื้อที่ปนเปื้อนมาจากที่อื่น
ไม่ใช่เป็นเชื้อที่อยู่บนหน้ากากจริง ๆ
Q : ทดลองการเพาะเชื้อที่ได้จากในหน้ากาก ?
A : ขั้นตอนการทดลองที่เราทำก็คือ
เราให้อาสาสมัครใส่หน้ากากอนามัย
คือหน้ากากที่ใช้แล้วทิ้งนะคะ
ก็คือก็จะมีการใส่เป็น 20 นาที
หลังจากนั้นเราก็จะใช้ไม้พันสำลีสะอาดที่ปราศจากเชื้อ
จุ่มน้ำเกลือที่สะอาดเช่นเดียวกัน
แล้วก็ทำการป้ายที่บริเวณหน้ากากทั้งด้านในแล้วก็ด้านนอก
แล้วก็นำไม้พันสำลี
ซึ่งก็จะมีตัวอย่างของเชื้อที่อยู่บนหน้ากาก
เอาไปป้ายลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
แล้วก็นำอาหารเลี้ยงเชื้อไปบ่มในอุณหภูมิที่เหมาะสม
ก็คือที่ 20 นาทีของหน้ากากอนามัย
ก็พบว่าด้านในมีเชื้อแบคทีเรียเจริญมากกว่าด้านนอก
Q : เชื้อที่พบมีอะไรบ้าง ?
A : เมื่อเราเอาเชื้อราแล้วก็เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้
ไปทำการระบุชนิดของเชื้ออย่างชัดเจน
ก็พบว่าเป็นเชื้อที่อยู่บนผิวหนัง อยู่บนร่างกายของเรา
แล้วก็อยู่ในช่องปาก ทางเดินหายใจของเราอยู่แล้ว
ซึ่งปริมาณของเชื้อ ก็น่าจะมีความสัมพันธ์กับการหายใจ
การจามลงไปที่หน้ากาก รวมถึงการพูด
เพราะว่าก็เป็นเชื้อที่อยู่ในช่องปาก
Q : เชื้อที่พบนี่เป็นอันตรายต่อร่างกายไหม ?
A : เชื้อเหล่านี้เป็นเชื้อที่พบได้ในทางเดินหายใจของเรา
รวมถึงบริเวณผิวหน้าของเราอยู่แล้ว
ซึ่งเชื้อเหล่านี้ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคอะไร
ถ้าเกิดคนเรามีร่างกายที่ปกติ มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงดี
เป็นเชื้อที่อาศัยอยู่ร่วมกับคนเราอย่างเป็นปกติอยู่แล้ว
Q : เขาแชร์กันบอกอีกว่า มีผลงานวิจัยบ่งชี้ว่า
การสวมหน้ากาก นาน ๆ ทำให้เกิดโรคมากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะเร็งปอด และปอดบวม จริงไหม ?
A : มันมีงานวิจัยที่บอกว่าเชื้อโรคที่อยู่ในทางเดินหายใจส่วนต้น
ถ้าเกิดเราไปพบเชื้อเหล่านี้ที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง
เชื้อเหล่านี้มีโอกาสทำให้การดำเนินโรคของมะเร็ง
หรือว่าทำให้เกิดโรคปอดอักเสบได้
ซึ่งข่าวที่มีการแชร์กันในโซเชียลก็มีการอ้างอิงไปถึงงานวิจัยนี้
แต่งานวิจัยนี้ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานวิจัยนี้เอง
ก็ได้ออกมาพูดเองว่าเขาไม่ได้กล่าวถึง
เรื่องการใส่หน้ากากอนามัยแต่อย่างใด
เพราะว่างานวิจัยนี้ทำขึ้นมาตั้งแต่ปีประมาณ ค.ศ. 2013 จนถึง 2018
ซึ่งช่วงนั้นยังไม่ได้การใส่หน้ากากอนามัยเคร่งครัด
เพราะยังไม่มีการระบาดของเชื้อโรคโควิด19
ก็เลยไม่ได้แสดงความสัมพันธ์กันว่า
การใส่หน้ากากสัมพันธ์กับการเกิดโรคปอดที่รุนแรงขึ้น
หรือว่าการติดเชื้อในปอด หรือว่าการเกิดมะเร็งปอดที่รุนแรงขึ้น
Q : หากใส่หน้ากากอย่างถูกวิธีก็ไม่ต้องเป็นกังวล ?
A : ถ้าเราปฏิบัติตนเรื่องเกี่ยวกับการใส่หน้ากากให้ถูกต้องแล้ว
ก็โอกาสที่จะเกิดผลเสียก็คือน้อยมากเมื่อเทียบกับไม่ใส่
ซึ่งการใส่หน้ากากที่ไม่ถูกวิธีคืออย่างเช่น
มีการใส่หน้ากากใช้ซ้ำ
หรือว่านำหน้ากากที่เปรอะเปื้อนตกพื้นแล้วมาใส่ใหม่
หรือว่าหน้ากากผ้าไม่มีการทำความสะอาดที่เหมาะสมหรือถูกวิธี
ซึ่งถ้าเกิดว่าเราใส่ไม่ถูกวิธี
ก็จะมีโอกาสรับเชื้อจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาสู่ร่างกายของเราได้
ซึ่งอาจจะเป็นเชื้อก่อโรคได้
แต่เมื่อไหร่ถ้าเรามีการใส่หน้ากากอย่างถูกวิธี
ไม่ใส่แล้วก็ลดลงมาอยู่ที่บริเวณปากเท่านั้น
เปลี่ยนหน้ากากบ่อย ๆ คืออย่างน้อยทุกวัน
หรือเมื่อมีการเปรอะเปื้อน
ก็โอกาสที่จะมีการรับเชื้อก่อโรค
เข้ามาสู่ร่างกายเราก็คือน้อยมาก
Q : สรุปแล้วภาพแบคทีเรียจากหน้ากากที่เขาแชร์กันนี้เป็นอย่างไร ?
A : คิดว่าไม่สมควรที่จะแชร์ต่อ
เนื่องจากว่ามันจะเป็นการสร้างเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใส่หน้ากากได้
จริงอยู่ที่เราพบว่ามีเชื้อราแล้วก็เชื้อแบคทีเรีย
อยู่ด้านในของหน้ากากเมื่อเราใส่แล้ว
แต่เชื้อราและเชื้อแบคทีเรียเหล่านั้น
ก็คือเป็นเชื้อที่พบได้ในร่างกายของเราเอง
ไม่ได้เป็นอันตรายอะไร
แล้วการใส่หน้ากากเมื่อเทียบกับไม่ใส่
ก็ให้ประโยชน์มากกว่า
👉 การใส่หน้ากากอนามัย
ยังคงเป็นวิธีที่สำคัญในการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
ชัวร์ก่อนแชร์ sureandshare
🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ \”ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์\” 🎯
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshare
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
บทปฏิบัติการที่ 6 เรื่อง การหาค่าต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียเชิงปริมาณ
เสนอผศ.ดร.ชนกันต์ จิตมนัส
วิดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ชป322 โรคสัตว์น้ำ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
nanoe™ Technology Miniature World – ยับยั้งแบคทีเรีย
nanoe ขนาดเล็กระดับนาโนที่มีอายุการทำงานยาวนาน จะแพร่กระจายออกไปในอากาศ เจาะลึกลงไปในเส้นใยเสื้อผ้าและช่องว่างอื่น ๆ เพื่อทำหน้าที่ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสารก่อภูมิแพ้ (ละอองเกสรดอกไม้ ฯลฯ)
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/2LThA6N
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Sales experience