Skip to content

ลาวแพน – กลุ่มดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร | เพลงลาวแพน

ลาวแพน – กลุ่มดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

เพลงลาวแพน (เนื้อเก่าสำนวนตีเวียงจัน)
โดย กลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
เพลงลาวแพน คือ เพลงสำเนียงลาวหลายทำนอง ที่เอามาร้อยต่อกันเป็นพืดยืดยาว ให้มีลีลาหลากหลายกว้างขวางอย่างเสรี เพลงลาวแพนมีคำร้องแพร่หลายต่างกันอย่างน้อย 2 สำนวน คือ สำนวนตีเวียงจัน กับสำนวนพระลอ
สำนวนตีเวียงจันนี้ พรรณนาความทุกข์ยากของบรรดาเชลยลาว ที่ถูกกวาดต้อนจากเวียงจันมาอยู่กรุงเทพฯ คราวศึกเจ้าอนุวงศ์ สมัย ร.3 ไม่ทราบผู้แต่ง แต่คาดว่าแต่งในกรุงเทพฯ และไม่เป็นสำนวนลาวสองฝั่งโขง เพราะฉันทลักษณ์ใกล้กลอนเพลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา และถ้อยคำก็กลายจากลาวใกล้ไทยกรุงเทพฯ มากแล้ว มีร่องรอยน่าสงสัยว่าคำร้องสำนวนนี้ จะแต่งโดยคีตกวีวังหน้า สมัย ร.3ร.4
จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวไว้ว่า “…ลักษณะของเพลงลาวแพนเดิมที่มีดังกล่าวนั้นก็เนื่องมาจากมันเป็นเพลงของพวกเชลยลาวที่ถูกจับกวาดต้อนลงมาอยู่ในกรุงเทพฯ เมื่อคราวศึกเจ้าอนุวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่สาม พวกเชลยลาวเหล่านี้คือพวกประชาชนที่เจ้าอนุวงศ์เกณฑ์ลงมาโจมตีกรุงเทพฯ เพื่อปลดแอกเวียงจันทน์จากไทย แต่เมื่อยกมาถึงเพียงนครราชสีมาก็ถูกต้านตีจนแตกยับเยิน เชลยลาวที่ถูกจับได้ถูกกวาดต้อนลงมาในกรุงเทพฯ พวกเจ้าขุนมูลนายฝ่ายศักดินาไทยกระทำการทารุณเอาตามอำเภอใจ พวกเชลยเหล่านั้นได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส แต่เนื่องด้วยพวกเชลยลาวปราศจากการนำอันเข้มแข็งปราศจากการจัดตั้งอันมีระเบียบ การที่จะลุกฮือขึ้นต่อสู้จึงกลายเป็นเรื่องในฝัน เป็นเรื่องท้อแท้ เป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ ทางออกของเขาก็คือระบายความเคียดแค้น ความเร่าร้อน ความปวดร้าว และทุกข์ยากออกมาเป็นบทเพลง เพลงบทนั้นก็คือเพลงลาวแพน”
ขอบคุณกองทุนแบ่งปันเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะและคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ

ลาวแพน - กลุ่มดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร

ลาวแพน ครูสุวิทย์ เดี่ยวขิม


ลาวแพน ครูสุวิทย์ เดี่ยวขิม

เพลงลาวแพนใหญ่ เทปบันทึกเสียงดนตรีลาวเดิม ລາວແພນໃຫຍ່ Lao Pan


เทปบันทึกเสียงดนตรีลาวเดิม เพลงลาวแพนใหญ่ ລາວແພນໃຫຍ່ Lao Pan

เพลงลาวแพนใหญ่ เทปบันทึกเสียงดนตรีลาวเดิม ລາວແພນໃຫຍ່ Lao Pan

ลายบรรเลง : ศรีโคตรบูรณ์ เมดเล่ย์ 1 ชม.เต็ม – ทองเบส ทับถนน【Picture Version】


\”ลายบรรเลง : ศรีโคตรบูรณ์ เมดเล่ย์ 1 ชม.เต็ม\”
บรรเลงพิณ : ทองเบส ทับถนน
พิณ : ทองเบส ทับถนน
แคน : หมอแคนบาส
โหวด : ครูซี วิทวัส นาใจคง
image : PSasin Tipchai
เรียบเรียง : ทองเบส ทับถนน
ห้องบันทึกเสียง : บ้านทับถนน Studio
facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100018140351147
id line : masa00412
to.0873768148 (ทองเบส)

สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียด

ID : masa00412
📞: 0873768148
Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=100018140351147

อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กดติดตามกด Subscribe https://www.youtube.com/channel/UCigHIEROPcXrSuqz75r_OKw?view_as=subscriber เพื่อเป็นกำลังใจการทำคลิปต่อไปนะครับ

ย้ำ!!!อย่าลืม!!! (กดกระดิ่งเพื่อจะไม่พลาดคลิปดีดีนะครับ)

ลายบรรเลง : ศรีโคตรบูรณ์ เมดเล่ย์ 1 ชม.เต็ม - ทองเบส ทับถนน【Picture Version】

ลาวแพน (กู่เจิ้ง)


เพลงลาวแพนเป็นเพลงที่นักดนตรีนิยมนำมาบรรเลงเป็นเพลงเดี่ยวอวดฝีมือกันมากเพลงหนึ่ง ประวัติเดิมนั้นเล่ากันว่า เพลงนี้มีต้นเค้ามาจากเพลงที่นิยมร้องเล่นกันในหมู่เชลยชาวลาวที่ไทยกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทร์ในสมัยตอนต้นๆของยุครัตนโกสินทร์ ท่วงทำนองเพลงนี้มีทั้งความอ่อนหวานรำพึงรำพันและโศกเศร้าระคนกัน จะเห็นได้จากเนื้อร้องเดิมที่บรรยายถึงความยากลำบากทุกข์ระทมใจที่ต้องจากบ้านเมืองมาอยู่ในต่างแดน ต่อมานักดนตรีไทยเห็นว่าเพลงนี้มีท่วงทำนองแปลกไพเราะน่าฟังจึงนำมาปรุงแต่งเสียใหม่ให้เข้ากับอรรถรสของบทเพลงไทยที่มีสำเนียงลาว
เครื่องดนตรีใน วงเครื่องสาย ที่นิยมนำเพลงลาวแพนมาปรุงทางเพื่อบรรเลงเดี่ยวอวดฝีมือกันนั้นที่สำคัญๆก็คงจะมี จะเข้ และ ขิม เนื่องจากเครื่องดนตรีทั้งสองชนิดดังกล่าว สามารถทำเสียงประสานกันในตัวเองให้มีท่วงทำนองคล้ายคลึงกับเสียงแคน จึงสามารถสื่อความหมายของบทเพลงให้ออกรสชาติเป็นสำเนียงลาวได้มากกว่า ซอด้วง ซออู้ หรือ ขลุ่ย
(บรรเลงโดย กู่เจิ้ง)

ลาวแพน (กู่เจิ้ง)

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *